พี่ดาวขอแนะนำ
วิธีวัดขนาดหน้าอกกับชุดว่ายน้ำที่ถูกต้องนะจ๊ะสาวๆ
1. วัดรอบตัว การวัดรอบตัวทำได้ 2 วิธีนะคะ ซึ่งควรจะวัดทั้ง 2 แบบแล้วนำมาเปรียบเทียบกันค่ะ ถ้าวัดถูกต้อง จะได้ค่าที่เท่ากันค่ะ
แบบที่ 1 ใช้สายวัด วัดรอบตัวเหนือหน้าอกของเรา รอดใต้แขนวัดเป็นนิ้ว หากได้เลขคี่ ให้ปัดขึ้นเป็นเลขคู่ค่ะ เช่น 31 นิ้ว ปัดเป็น 32 นิ้ว หากได้เลขที่คู่ ก็ใช้เลขนั้นได้เลยค่ะ เช่น วัดได้ 32 ลำตัวของเราก็คือ 32 ค่ะ
แบบที่ 2 ใช้สายวัด วัดรอบลำตัว ใต้หน้าอก (แบบนี้คนไทยนิยมวัดกัน) วัดได้เท่าไหร่ บวกเพิ่มเข้าไปอีก 5 นิ้วนะคะ เช่น หากวัดได้ 27 นิ้ว บวกเพิ่มอีก 5 ค่าลำตัวของเราก้อคือ 32 ถ้าบวกออกได้เลขคี่ ให้ปัดขึ้นเป็นเลขคู่นะคะ
*การวัดค่าลำตัว ควรวัดแบบแนบๆ แน่นๆ ติดลำตัว ไม่ต้องหายใจเข้าให้พองๆ แล้ววัดเดียวจะค่าผิดไปนะคะ
2. วัดรอบอก การวัดรอบอกนะคะ ให้เราใช้สายวัดวัดรอบจุดที่นูนที่สุดของหน้าอกเราเอง แต่คราวนี้ให้วัดหลามๆ หายใจปกติ วัดเป็นนิ้วค่ะ
3. วัดขนาดเต้า หรือ Cup ด้วยการนำ รอบอก(นิ้ว) - รอบลำตัว(นิ้ว) หรือนำผลที่ได้จากข้อ 2 หักลบด้วยผลที่ได้จากข้อ 1 ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นค่า CUP ของเสื้อใน A B C D ตามตารางค่ะ
ผลต่าง (นิ้ว / inch) CUP
1. นิ้ว หรือน้อยกว่า A
2. นิ้ว B
3. นิ้ว C
4. นิ้ว D
ตัวอย่าง รอบอก 33 นิ้ว นะคะ เอามาลบ 32 นิ้ว ขนาดคัพ A เวลาไปซื้อชุดชั้นใน = 32/A เสื้อชั้นในบางยี่ห้อ ใช้เลขลำตัวหน่วยเป็นเซ็นติเมตร ลองเทียบค่าลำตัวจากนิ้วเป็น ซ.ม. ได้จากตารางด้านล่างนี้เลยค่ะ
นิ้ว เซ็นติเมตร
30 65
32 70
34 75
36 80
38 85
ไซส์ B70 รอบอกจะอยู่ที่ 70-83 cm.
ไซส์ B75 รอบอกจะอยู่ที่ 75-88 cm.
ไซส์ C70 รอบอกจะอยู่ที่ 70-85 cm.
ไซส์ C75 รอบอกจะอยู่ที่ 75-90 cm.
ไซส์ D70 รอบอกจะอยู่ที่ 70-88 cm.
ไซส์ D75 รอบอกจะอยู่ที่ 75-93 cm.
ไซส์ E70 รอบอกจะอยู่ที่ 70-90 cm.
ไซส์ E75 รอบอกจะอยู่ที่ 75-95 cm.
วิธีการวัดนี้เป็นวิธีแบบสากลนะคะ เขาใช้วัดขนาดของชุดชั้นในกัน แต่ก้อพบว่ามีผู้หญิงหลายคนวัดแล้วไม่ค่าคัพตรงกับไซส์ชุดชั้นในที่ตนเองใส่อยู่จริงๆ เช่นปกติใส่คัพ C แต่พอลองวัดกับวิธีนี้ ต้องกลายเป็นใส่ คัพ A สัดส่วนของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง และเสื้อชั้นในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Push-Up Bra หรือ บราดันทรงที่มีโครงลวด มีแผ่นฟองน้ำเสริมทรง มีแผ่นดันทรงวางไว้ใต้หน้าอกอีกที ทำให้ผู้หญิงมักจะต้องใส่เสื้อชันในขนาดคัพใหญ่กว่าปกติ 1 ไซส์ เนื่องจากมีอุปกรณ์Support เหล่านี้เข้ามาช่วยเสริมให้อกดูอวบอิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ ฉะนั้นถ้าหากขนาดคัพที่ได้ไม่กับที่ใส่อยู่จริง เราก้อควรใช้ค่าลำตัว ไปใช้ซื้อชุดชั้นในหรือชุดว่ายส่วนจะใส่ไซส์ใด หรือ คัพใด ก้อคงต้องไปลองกันเองนะคะ
4. ขนาดคัพเท่ากัน ขนาดลำตัวแตกต่างกัน ควรเลือกใส่ตามความเหมาะสม และสามารถยืดหยุ่นได้ค่ะ
ส่วนใหญ่ชุดชั้นในหรือ ชุดว่ายน้ำ มีขายหลากหลายยี่ห้อนะคะ แต่ละยี่ห้อ ก้อมีรูปแบบ และสไตส์ที่แตกต่างกันไป จึงไม่แปลกถ้าเราใส่ชุดยี่ห้อหนึ่งขนาด 34/75 แต่เมือไปซื้ออีกยี่ห้อ กลับใส่ 36/80 A แล้วพอดีกว่า เพราะขนาดเต้า/ cup ของเสื้อในขนาด 36/80 A ใหญ่เท่ากับชุดชั้นในขนาด 34/75B และยังเท่ากัน 32/70 C อีกด้วย ขนาดคัพเท่ากัน แต่ขนาดลำตัวต่างกันขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของตัวเนื้อผ้า และรูปทรงการตัดเย็บของแต่ละยี่ห้อ ดังนั้นการซื้อเสื้อผ้าชุดชั้นใน หรือชุดว่ายน้ำ อย่าไปยึดติดกับไซส์เดิมๆ สำคัญที่ใส่คัพของเสื้อในต้องแนบสนิทกับเนื้อหน้าอกของเรา ไม่เหลือช่องว่าง ถ้าเหลือแสดงว่าคัพใหญ่ไป แต่ก้อไม่เล็กแน่นจนล้น (ยกเว้นจงใจนะคะ) ส่วนขนาดลำตัวสามแล้วควรพอดี ไม่แน่นจนรู้สึกอึดอัด และถ้าลองยกแขนทั้งสองขึ้นบิดซ้ายบิดขวา แถบลำตัวชุดว่ายน้ำต้องไม่ถลนขึ้นมา
ตารางเปรียบเทียบขนาดคัพ (ปริมาตร) ที่เท่ากัน แต่ลำตัวต่างกัน
(ดูตามแนวดิ่ง)
32/70A 34/75A 36/80A 38/85A 38/85B
30/65B 32/70B 34/75B 36/80B 36/80C
30/65C 32/70C 34/75C 34/75D
5. ขนาดหน้าอกเราเปลี่ยนแปลงได้ ตามน้ำหนัก และฮอร์โมน เช่น ถ้าหากน้ำหนักขึ้น หน้าอกก้อใหญ่ขึน เช่นเดียวกับน้ำหนักลง หน้าอกก้อเล็กลงไปด้วยเช่นกัน จะมากหรือน้อยแล้วแต่คน นอกจากนี้ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงก้มีผลต่อขนาดของหน้าอกด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ผู้หญิงหลายๆ คน จะตึงคัดเต้านม หรือเจ็บหน้าอกและขนาดหน้าอกขยายขึ้นเล็กน้อยช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วงมีประจำเดือน รวมถึงช่วงตั้งครรภ์ด้วย สำหรับกรณีที่เจ็บและคัดหน้าอกมาก และหน้าอกขยายค่อนข้างมากในช่วงเวลาดังกล่าว อาจหาซื้อชุดว่ายน้ำ ในขนาดที่คัพใหญ่ขึ้น เพื่อใส่ในช่วงวันนั้นๆ เพื่อความสบายตัว ไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าคุณจะต้องใส่ชุดว่ายน้ำในขนาดเดิมหรือขนาดเดียวไปตลอดค่ะ
6. ควรมีการวัดขนาดหน้าอกตนเอง ทุกๆ 1-2 ปี และ/หรือ คอยเฝ้าสังเกตว่ารู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวเวลาสวมใส่ชุดชั้นในหรือชุดว่ายน้ำหรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกให้น้องๆ ต้องเปลี่ยนขนาด เปลี่ยนแบบ หรือจำเป็นต้องซื้อชิ้นใหม่ซะแล้วค่ะ
****************************
พี่ดาวขอนำเคล็ดลับการเลือกชุดว่ายน้ำ
สำหรับสาวๆ หุ่นเจ้าเนื้อมาฝากค่ะ
โดยทั่ว ๆ ไปรูปร่างของสาวเจ้าเนื้อโดยเฉพาะสาวที่มีรูปร่างอวบอ้วน มีอะไรให้ปกปิดเยอะกว่าสาว ๆ หุ่นเพรียวอยู่แล้ว แต่ทำอย่างไรที่จะทำให้สาว ๆ ไซส์บึ้มสามารถใส่ชุดว่ายน้ำคนอ้วนออกไปอย่างมั่นใจและทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุข ไม่เคอะเขิน นอกเหนือจากความมั่นใจที่ต้องพกพาไปแล้ว ยังต้องมีความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเลือกซื้อชุดว่ายน้ำให้ได้เหมาะกับ ตัวเราอีกด้วยนะคะ
ก่อนอื่นต้องสำรวจตัวเราเองก่อนว่ามีสรีระและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกชุดว่ายน้ำได้ถูก
1. สาวสะโพกดินระเบิด
คือกลุ่มสาวอวบอ้วนที่มีสะโพกใหญ่เด่นมาแต่ไกล รูปร่างคุณจะดูเหมือนช่วงบนเล็ก ช่วงท่อนล่างใหญ่ แนะนำให้เลือกชุดว่ายน้ำที่เน้นสีสันและรายละเอียดบริเวณอกมากหน่อย
ส่วนท่อนล่างของชุดว่ายน้ำก็ปล่อยให้เป็นสีโทนเข้มไป จะได้ดึงความสนใจไปที่ช่วงบนมากกว่าท่อนล่างหรือจะเลือกเป็น ชุดคอวี ลายทางหรือจะเป็นชุดแบบเกาะอก ก็ช่วยทำให้ท่อนบนกับท่อนล่างได้สมดุลดี แต่หากเจอสาวมั่น อยากใส่แบบสองชิ้น หรือชุดว่ายน้ำแบบทูพีซ ก็ควรเลือกกางเกงเอวสูงและขาเว้า คุณจะดูเพรียวยาวขึ้นมาเลยทีเดียว
2. สาวอกโต
สาวอวบอ้วนที่มีหน้าอกใหญ่ ควรเลือกชุดว่ายน้ำไซส์พิเศษที่มีโครงรองรับทรวงอก หรือชุดว่ายน้ำที่มีสายคล้องคอจะช่วยพรางหน้าอกของคุณให้เล็กลง อาจจะเสริมระบายต่อใต้อกเพื่อดึงความสนใจไปที่ส่วนอื่น หรือจะเลือกชุดว่ายน้ำแบบคอเหลี่ยมหรือชุดว่ายน้ำแบบสายไขว้หรือไม่ก็เลือก ชุดว่ายน้ำที่มีท่อนบนเป็นสีเข้ม ส่วนท่อนล่างสีสว่าง ข้อควรจำพยายามหลีกเลี่ยงชุดมีเข็มขัด เพราะอาจจะทำให้คุณดูทึบตัน
3. สาวที่มีช่วงไหล่กว้าง
ควรเลือกชุดว่ายน้ำคอวี หรือประเภทคอกว้านลึก พยายามเลือกลายทาง ลายทแยง หรือลายซิกแซก เพื่อให้ช่วงตัวดูยาวขึ้น ส่วนสายของชุดว่ายน้ำก็ควรเลือกแบบที่เป็นแถบซึ่งมีความหนาหน่อย ไม่ใช่สายเดี่ยว ไหล่ของคุณจะได้แคบเข้า แค่นี้ก็พรางช่วงบนได้แล้วค่ะ
4. คนเจ้าเนื้ออวบอ้วนที่มีหน้าท้องใหญ่
ส่วนใหญ่เรื่องหน้าท้องเป็นปัญหาร้อยทั้งร้อยของสาวเจ้าเนื้อ คนที่มีหน้าท้อง คุณควรเลือกชุดว่ายน้ำคอวี จะกระชับรับกับรูปร่างดี พยายามเลือกชุดว่ายน้ำลายทางหรือชุดลายซิกแซก เพิ่มรายละเอียดที่ท่อนบนเสียหน่อย เพื่อดึงดูดความสนใจไปช่วงบนมากกว่าถ้าเป็นชุดว่ายน้ำแบบวันพีซก็อาจเลือกแบบที่ท่อนบนเป็นสีอ่อนแล้วค่อยๆเพิ่ม ความเข้มตรงท่อนล่าง หรืออาจจะเลือกแบบชุดว่ายน้ำมีลายทั้งตัวก็ช่วยพรางสายตาได้ดี
5. สาว ๆ ที่มีช่วงตัวยาวหรือสั้นเกินไป
ควรเลือกใส่ชุดว่ายน้ำแบบสองชิ้น ที่ชิ้นบนเป็นเหมือนเสื้อสายเดี่ยว รอยต่อที่พอเหมาะระหว่างเสื้อกับกางเกงจะช่วยให้รูปร่างคุณได้สัดส่วนขึ้น สำหรับสาวที่มีช่วงตัวยาวเกิน ให้เลี่ยงชุดว่ายน้ำที่จะทำให้ช่วงขายาวเสมอกัน ไม่เว้าเพราะจะยิ่งทำให้ตัวคุณดูยาวขึ้นอีก ส่วนสาวตัวสั้น ก็จงพยายามเลี่ยงกางเกงบิกินี่เอวสูงเพราะจะยิ่งเน้นให้เห็นว่าคุณตัวสั้น
*******************
ร้อนๆ อย่างนี้กีฬาที่คลายร้อนได้ดีที่สุด
เห็นจะไม่พ้นการว่ายน้ำนะคะ
พี่ดาวขอแนะนำเคล็ดลับ
การดูแลรักษาชุดว่ายน้ำมาฝากสาวๆ กันค่ะ
1. เมื่อซื้อชุดใหม่มา ควรแช่ชุดในน้ำเปล่าผสมด้วยน้ำส้มสายชูเป็นเวลา 30 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้สีของชุดซีดเร็ว (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำเปล่า 1/2 แกลลอน)
2. ก่อนลงว่ายน้ำในสระหรือในน้ำทะเล ควรล้างตัวของน้องๆ ด้วยน้ำฝักบัวก่อน เพื่อให้ชุดเปี่ยกดูดซึมคลอรีนหรือน้ำเกลือได้น้อยลง
3.ซักชุดว่ายน้ำด้วยมือ ในน้ำสบู่อ่อนๆ ทันทีที่ใช้งานเสร็จ หรือจะใช้น้ำยาเฉพาะสำหรับชุดว่ายน้ำก้จะดีมากค่ะ
4. ถ้าเป็นชุดใหม่เอี่ยมให้ซักแยกต่างหากสัก 2-3 ครั้งก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้สีตกใส่เสื้อผ้าตัวอื่นๆ
5. ไม่ควรซักชุดว่ายน้ำในเครื่องซักผ้านะคะ เพราะเครื่องจะทำให้ชุดย้วยเสียทรง และฟองน้ำเสริมหน้าอกจะเสียทรงทันทีค่ะ
6.ไม่ควรตกชุดว่ายกลางแดด เพราะความร้อนจะทำลายความยืดหยุ่นของเนื้อผ้า ทำให้ชุดยืดย้วยเสียทรง และยังจะทำให้สีสวยๆ ของชุดว่ายน้ำหมองเร็วอีกด้วยค่ะ วิธีตากชุดว่ายน้ำที่ถูกต้องคือต้องตากในที่ร่ม ให้ลมพัดผ่านตลอดนะคะ
7. เวลาบีบน้ำออกจากชุดให้ม้วนด้วยผ้าเช็ดตัวสะอาดๆ แล้วค่อยบีบน้ำออก อย่านำชุดออกมาบีบออกเพรียวๆ นะคะ จะย้วยหมดค่ะ
8. อย่าหมักชุดเปียกไว้ในกระเป๋าหรือตะกร้านะคะ เพราะจะทำให้ชุดอับชื้นจนอาจจะทำให้ราขึ้นได้ค่ะ และห้ามเอาชุดใส่กระเป๋าไปวางไว้กลางแดดนะคะ เพราะความร้อนจะทำให้ชุดเสียเร็วค่ะ
9.ถ้าคุณชอบว่ายน้ำมากขนาดต้องว่ายทุกวัน ควรจะมีชุดใส่สลับกันอย่างน้อย 2-3 ตัว เพราะถ้าเอาตัวที่ยังไม่แห้งสนิทมาใส่ ชุดจะย้วยง่ายเร็วเสียทรงเร็วกว่าปกติค่ะ
10. ขณะที่ใส่ชุดว่ายน้ำอยู่ อย่านั่งลงบนพื้นหรือแม้แต่เก้าอี้โดยตรง เพราะพื้นผิวต่างๆ จะข่วนเนื้อฟ้าเป็นขุยได้ง่าย ก่อนจะนั่งจึงควรหาผ้าปูรองชั้นหนึ่งก่อน เช่นผ้าเช็ดตัวเป็นต้นค่ะ
11.หากคุณเป็นสาวที่รักการอาบแดดเป็นชีวิตจิตใจ ควรจะใส่ชุดว่ายน้ำอาบแดดให้เสร็จเสียก่อนค่อยลงว่ายน้ำ เพราะการนอนอาบแดดในชุดเปียกๆ จะทำให้เนื้อผ้าของชุดว่ายน้ำเสียทรงได้ง่ายค่ะ
12. ถ้าชุดว่ายน้ำมีรอยเปื้อน ให้เริ่มทำความสะอาดจากข้างใต้รอยสกปรกนั้นและดันคราบขึ้นมาด้านบน อย่าถูจากบนลงล่างเพราะจะเป็นการทำลายเนื้อผ้า
13. สำหรับคนที่โปรดชุดว่ายน้ำสีเมทัลลิกต้องทำใจว่า นานๆ ไปความมันวาวของเนือผ้าจะหายไป ไม่ว่าคุณจะถนอมดีแค่ไหนก็ตามนะคะ
***********************